ฮาร์ดแวร์ของครือข่าย

 ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต้องใช้ในการติดตั้ง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจำนวนอุปกรณ์จะมีความซับซ้อนมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร หรือประเภทของระบบเครือข่าย ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น หรือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้
Local Area Network
(Local Area Network : LAN) ฮาร์ดแวร์ที่ต้องใช้ ได้แก่
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer)
               เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในระบบเครือข่ายนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ เครื่องแม่ข่าย และ เครื่องลูกข่าย

1.1 เครื่องแม่ข่าย
          เครื่องแม่ข่ายหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) ควรเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถคำนวณหรือประมวลผลได้รวดเร็ว มีหน่วยความจำสูง ใช้เป็นศูนย์กลางการเก็บข้อมูลและประมวลผลของระบบเครือข่าย ในระบบเครือข่ายขนาดเล็กมักจะไม่มีเครื่องแม่ข่ายหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์เนื่องจากมีราคาสูง แต่อาจใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดเดียวกับเครื่องลูกข่ายแทน หรือไม่มีเครื่องแม่ข่ายเลยก็ได้

เครื่อง server
1.2 เครื่องลูกข่าย
                เครื่องลูกข่ายหรือเครื่องไคลเอนต์ (Client) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่จำเป็นต้องมีคุณภาพสูงเท่าเครื่องแม่ข่าย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                 1.2.1 เครื่องเวิร์กสเตชัน (Workstation) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการประมวลผลด้วยตนเองสามารถทำงานได้เร็ว เพราะไม่ต้องรอรับผลจากเครื่องแม่ข่าย เครื่องเวิร์กสเตชันเมื่อออกจากระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ก็ยังสามารถใช้งานได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์สแตนด์อโลน แต่ค่าใช้จ่ายและการดูแลรักษา จะสูงกว่าเครือข่ายที่ใช้เครื่องเทอร์มินัล
                1.2.2 เครื่องเทอร์มินัล (Terminal) เป็นเครี่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถประมวลผลข้อมูลได้ด้วยตนเอง มีความสามารถในการทำงานช้า เพราะต้องรอการประมวลผลจากเครื่องแม่ข่ายเท่านั้น เครื่องเทอร์มินัล ประกอบไปด้วย จอคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และเมาส์ เพื่อใช้ในการแสดงข้อมูลและส่งข้อมูลไปยังเครื่องแม่ข่าย ทำให้ประหยัดค่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้อย่างมาก เครื่องเทอร์มินัลเมื่อออกจากเครือข่ายจะไม่สามารถทำงานได้แต่การดูแลรักษาระบบเครือข่ายที่ใช้เครื่องเทอร์มินัล จะง่ายกว่าระบบเครือข่ายที่ใช้เครื่องเวิร์กสเตชัน
2. แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card : NIC)
                 หรือนิยมเรียกกันว่า แลนการ์ด(Lan Card) ใช้สำหรับต่อสายนำสัญญาณของระบบเครือข่าย ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสารส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายได้


รูปแสดงตัวอย่าง แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ PCI
รูปแสดงตัวอย่าง แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ USB
3. สายนำสัญญาณ (Cable)
                  3.1 สายคู่บิดเกลียว (Twisted – Pair Cable)สายคู่บิดเกลียวประกอบด้วยสายทองแดง ที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก หลังจากนั้นก็นำสายทั้งสองมาถักกันเป็นเกลียวคู่ เพื่อช่วยลดสัญญาณรบกวนภายในสาย สายคู่บิดเกลียวมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
3.1.1  สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชีลด์                                                          
(Unshielded Twisted –Pair Cable :UTP)
3.1.2 สายคู่บิดเกลียวแบบมีชิลด์                                                         
(Shielded Twisted –Pair Cable :STP)
                   ข้อดี      ราคาถูก  มีน้ำหนักเบา  ง่ายต่อการใช้งาน
                   ข้อเสีย     มีความเร็วจำกัด  ใช้กับระยะทางสั้นๆ
3.2 สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
                   สายโคแอกเชียลประกอบด้วยสายทองแดงจะถูกห่อหุ้มด้วยพลาสติก จากนั้นก็จะมีชิลด์ห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน และหุ้มด้วยเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสายโคแอกเชียลที่เห็นได้ทั่วๆไป คือ สายที่นำมาใช้ต่อเข้ากับเสาอากาศโทรทัศน์ที่ใช้ตามบ้าน

                    ข้อดี    เชื่อมต่อได้ในระยะไกล  ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี
                    ข้อเสีย    มีราคาแพง   สายมีขนาดใหญ่   ติดตั้งยาก
3.3 สายไฟเบอร์ออปติค (Fiber Optic)
                 สายไฟเบอร์ออปติคหรือสายใยแก้วนำแสง เป็นสายที่ใช้คลื่นแสงส่งผ่านไปยังตัวกลางใยแก้ว มีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก ทำให้สามารถส่งสัญญาณด้วยความเร็วสูงและได้ระยะทางที่ไกลขึ้น
รูปแสดงตัวอย่าง สายไฟเบอร์ออปติคสำหรับใช้ภายในอาคาร
 
 รูปแสดงตัวอย่าง สายไฟเบอร์ออปติคสำหรับใช้ภายนอกอาคาร
                  ข้อดี มีขนาดเล็กน้ำหนักเบา   มีความปลอดภัยในการส่งข้อมูล
 มีความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน
                 ข้อเสีย เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง  แตกหักง่าย 
                          มีราคาสูง  เมื่อเทียบกับสายเคเบิลทั่วไป
                          มีขั้นตอนในการติดตั้งที่ยุ่งยากและซับซ้อน
4. ฮับ/สวิตช์ (HUB/Switch)
                  ฮับ กับ สวิตช์ เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายเข้าด้วยกัน มีรูปร่างลักษณะภายนอกคล้าย ๆ กัน แต่มีความสามารถในการทำงานแตกต่างกัน ดังนี้
                  4.1 ฮับ (HUB) มีหน้าที่ในการจัดการสัญญาณที่ส่งมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ กระจายสัญญาณต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทุกเครื่อง หากมีการส่งสัญญาณพร้อม ๆ กันจะทำให้ความเร็วของการส่งสัญญาณในระบบเครือข่ายลดลง ดังนั้น HUB จึงไม่เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เพราะมีปัญหาเรื่องความเร็วในการสื่อสาร
                    4.2 สวิตช์ (Switch) จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่า Hub โดยที่อุปกรณ์ Switch จะทำงานในการ รับ-ส่งข้อมูล ที่สามารถส่งข้อมูลจากพอร์ตหนึ่งของอุปกรณ์ ไปยังเฉพาะพอร์ตปลายทางที่เชื่อมต่ออยู่กับอุปกรณ์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการส่งข้อมูลไปหาเท่านั้น ซึ่งจากหลักการทำงานในลักษณะนี้ ทำให้พอร์ตที่เหลือของอุปกรณ์ Switch ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรับ-ส่งข้อมูลนั้น สามารถทำการ รับ-ส่งข้อมูลกันได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ทำให้ในปัจจุบันอุปกรณ์ Switch จึงได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานในระบบเครือข่ายมากกว่า ฮับ (Hub)
รูปแสดงตัวอย่าง สวิตช์ (Switch)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น